top of page

ประวัติความเป็นมา พระรอดช่อแล พระรอดพิมพ์บังภัย ของดีบ้านช่อแล อ.แม่แตง

อัปเดตเมื่อ 3 ก.ค. 2563

พระรอดช่อแล พระรอดบังภัยช่อแล เนื้อดิน มีหลายพิมพ์ ขุดพบเมื่อ พ.ศ.2487


ผู้ใช้เฟสบุ๊คชื่อ Kunakorn Chaimeyka ได้กรุณาให้ข้อมูลเกี่ยวกับพระรอดช่อแล ของดีบ้านช่อแล อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ ไว้ว่า

พระรอดช่อแล

พระรอดช่อแล เรียกว่าพระฝากกรุ ซึ่งนำมาจากวัดแสนเมืองมา (วัดหัวข่วง) ที่แตกกรุในปี พ.ศ.2493 ซึ่งของวัดช่อแลได้แตกกรุก่อน เป็นพิมพ์เดียวกัน ซึ่งมีการนำมาบรรจุกรุในสมัยตอนสร้างพระ ได้แบ่งพระจากการสร้างที่วัดแสนเมืองมา ให้กับเกจิอาจารย์ที่ร่วมพิธีปลุกเสกในครั้งนั้น ไปลงกรุในวัดต่างๆ เพราะฉะนั้นยังมี...


พระรอดพิมพ์บังภัย

ที่เป็นพิมพ์เดียวกัน กระจายอยู่ตามวัดที่เกจิอาจารย์แต่ละวัดนำกลับไปบรรจุกรุที่วัดนั้นๆ อีกหลายแห่งครับ นอกจากนี้ยังมีพระพิมพ์ที่ขึ้นช่อแล ปรากฏ (แตกกรุ) อีกหลายแห่ง เช่น กรุฮอด กรุวัดหมูบุ่น (หน้าอนุเสาวรีย์ครูบาเจ้า) เป็นต้นครับ แต่ด้วยที่แตกกรุวัดช่อแลจำนวนไม่มาก เลยไม่ได้รับการบันทึกว่าเป็นกรุช่อแล แต่ได้มีการยอมรับรับว่าเป็นพระกรุหัวข่วง เพราะเนื้อ พิมพ์ เหมือนกันทุกประการ ปัจจุบันเป็นพระยอดนิยมของภาคเหนือ ราคาเล่นหากันหลักหมื่น ด้วยชื่อที่เรียกว่า "พระรอดบังภัยกรุวัดหัวข่วง" เพราะฉะนั้นพระรอดช่อแล จะต่างจากกรุอื่น ตรงที่คราบกรุบริเวณผิวชั้นนอกของพระเท่านั้นครับ






ติดตามเราที่นี่

#พระรอดช่อแล #พระรอดบังภัยช่อแล #พระรอดบังภัยกรุวัดหัวข่วง #ของดีช่อแล #พระช่อแล

Comments


bottom of page