top of page

รถโดยสารบ้านช่อแล

เรื่องราวของรถโดยสารบ้านช่อแล และคิวรถช่อแล ที่นำมาเล่าหื้อกั่นฟังวันนี้ แอดมินได้เรียบเรียงมาจาก หนังสือม่วนแต้ ช่อแลตะก่อน ที่เขียนโดย จิ๊บ ใจมา และ เดชา ดวงจิตร และภาพเก่าเล่าช่อแล ภาพนี้ ถ่ายไว้ประมาณ พ.ศ. 2490-2500 บริเวณฝายแม่งัด (ชลประทานแม่งัด) หรือ เขื่อนแม่งัดสมบรูณ์ชล ในปัจจุบันซึ่งเป็นหนึ่งใน Story ภาพเก่าของ เดชา ดวงจิตร ช่อแลพระงามขอขอบพระคุณทั้งสองท่านไว้ ณ ที่นี้ เป็นอย่างสูงครับ


คิวรถช่อแล เริ่มเมื่อไหร่

เมื่อ 70 กว่าปีที่แล้ว

เกิดสงครามโลกครั้งที่สอง World War II เป็นสงครามที่เกิดขึ้นทั่วโลก และกว้างขวางที่สุดในประวัติศาสตร์ กินเวลากว่า 6 ปี ตั้งแต่ พ.ศ. 2482 - 2488 (1939-1945) มีทหารกว่า 100,000,000 นาย จากกว่า 30 ประเทศเข้าร่วม มีผู้เสียชีวิตสูงสุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ 50,000,000 - 80,000,000 คน จนต้องจบลงด้วยธงขาว ณ ฮิโรชิมา


หลังสงครามสิ้นสุดลงโลกเข้าสู่ยุกที่เราเรียกกันว่ายุก "หลังสงครามโลกครั้งที่สอง" วัฒนธรรม วิธีคิด แฟชั่น เพลงฝรั่ง ของผู้ชนะสงครามได้ระบาดไปทั่วโลกอย่างมีอิทธิพลแม้กระทั้งรถยนต์ ก็เป็นหนึ่งในนั้น

ช่อแลในเวลานั้น

การเดินทางสัญจร หรือขนส่งยังไม่ค่อยสะดวก ถ้าเป็นในหมู่บ้าน ก็เดินเท้านี่แหละสะดวกที่สุด ถ้าแดดร้อนหรือฝนตกก็กางร่ม (ชาวบ้านบางคนยังนิยมไม่ใส่รองเท้าด้วยช้ำ) รถถีบถือเป็นยานพาหนะพื้นฐาน ที่คนจะพอหาซื้อได้ เพราะราคาไม่แพงมาก ดูแลง่ายใช้สะดวกไม่ต้องพึ่งพาน้ำมันส่วนจักรยานยนต์ก็ยังมีน้อย


คนช่อแลถ้าต้องขนส่งของหนัก หรือมีของขนาดใหญ่ก็ใช้เกวียนเทียมวัวลาก แต่ถ้าเป็นการเดินทางติดต่อระยะไกล หรือขนส่งข้าวของสินค้าที่ต้องการความรวดเร็ว หรือ เข้าไป ในเวียง (ตัวเมือง) ก็ต้องอาศัย รถโดยสาร รถยนต์ส่วนตัวก็เป็นสิ่งที่หาได้ยาก หรือแทบไม่มีเลย


รถโดยสารส่วนใหญ่เป็นแบบคอกหมู คือ มีโครงสร้างห้องโดยสารและห้องคนขับทำด้วยไม้ท่อนโตๆ แข็งแรงมาก ช่วงแรกๆ

หลังสงครามโลกครั้งที่สอง ยังมีรถที่สตาร์ทเครื่องโดยใช้มือหมุนให้เห็นอยู่บ้าง เช่น รถที่เห็นในภาพ ใช้วิธีหมุนๆ ด้านหน้าเพื่อสตาร์ทคล้ายกับรถไถนาคูโบต้าในปัจจุบัน ถึงแม้รถยนต์ส่วนตัวก็เป็นสิ่งที่หาได้ยากหรือแทบไม่มีเลย แต่ช่อแลก็ไม่แพ้ชาติใดในโลก


รถโดยสารช่อแลในยุกนี้

แต่ละคันจะมีชื่อเสียงเรียงนามไว้เรีกขาน ดังนี้ครับ

1. รถพรสวรรค์ ของอ้ายส่ง พี่สาย (ท้ายรถ)

2. รถพรประเสริฐ ของอ้ายคำ พี่ตุ่นแก้ว (ท้ายรถ ชื่ออ้ายเสาร์ ปัจจุบันบวชเป็นพระ)

3. รถเจ้าสุริยา ของอ้ายหน้อย ลูกเขยของครูดี บ้านหนองออน

4. รถมนต์ขนแผน ของอ้ายปัน (อุย) น้องอ้ายหน้อย


(ปล. สร้อยเรียกตามหนังสือต้นฉบับ)


ไม่มีทางเลือก

กว่ารถโดยสารจะเริ่มออกเดินทางจริงๆ ต้องวนเวียน หัวท้ายหมู่บ้าน เพื่อรับคนโดยสารและข้าวของสินค้า พริก กระเทียม หอม ลำไย เป็นเข่ง เป็นกระสอบ กว่าจะเต็ม รวมทั้งรับผู้โดยสารบ้านหนองออน คนโดยสารก็ต้องนั่งตามรถไปไม่มีทางเลือกอื่น ต้องโยกเยกผ่านหลุมบ่อถนนตามหมู่บ้าน


เส้นทางที่น่าหวาดเสียวที่สุดของการเดินทาง คือ ดอยบ้านปง

มีร่องลึกและลื่นไถล เหมือนเส้นทางชักลากไม่ในป่า กว่าจะออกมาถึง ปากทาง ถนนลาดยางสายเชียงใหม่-ฝาง 107 ก็สายต่อมาภายหลังมีการจัดคิวรถและเป็นจุดเริ่มต้นของคิวรถช่อแล


จุดเริ่มต้นคิวรถช่อแล

มีคิวรถ (ท่ารถ) ที่บ้านยายตุ่น และมีอ้ายเฮือน เป็นนายท่าคนแรก ทำหน้าที่จัดคิวเนื่อจากต้องเกี่ยวพันพึ่งพากับคนขับ คนโดยสารจะรู้กิติศัพท์ของคนขับแต่ละคนดี ว่าเป็นอย่างไร?


ขับช้า ขับเร็ว ขับเฮี้ยว ขับดี

และมีคนท้ายรถคอยทำหน้าที่แบกของขึ้นลง


ปลายทางในเวียง

ในหนังสือบะได้บอกไว้ ว่าลงที่ไหน? สมัยแอดมินนั่งไปลงกาดหลวง สมัยแม่แอดมิน ไปลงศรีพิงค์ เผื่อฮู้คิงแหม่กำ หมอนั่งเครื่องบินกรุงเทพมาเจียงใหม่ มาถึงก่อนเฮานั่งรถคิวไปเวียงแหม่เมาะ!

Image Credit: เดชา ดวงจิตร์

Admin Content: หลับตุ่ยเค

แนะนำ

ชอบอะไรหาอะไรในช่อแล คลิกที่นี่

แบ่งปันเรื่องราว คลิกที่นี่

แจ้งข่าวสารของชุมชน คลิกที่นี่

สมาชิกเวปไซต์ช่อแลพระงาม

สมัครฟรี! คลิกที่นี่

ติดตามช่อแลพระงาม

#รูปเก่าเล่าช่อแล #ช่อแลเมื่อตะวา #รถโดยสารบ้านช่อแล #คิวรถช่อแล #หลับตุ่ยเค #ช่างภาพกล้องฟิล์มบ้านช่อแล


留言


bottom of page