top of page

ตำนานแห่งสายน้ำแม่งัด

  • รูปภาพนักเขียน: Baojai Dee
    Baojai Dee
  • 28 พ.ค. 2563
  • ยาว 1 นาที

อัปเดตเมื่อ 30 ก.ค. 2563

ตำนานแห่งสายน้ำแม่งัด ก่อนที่จะเป็นเขื่อนแม่งัดสมบรูณ์ชล บันทึกแห่งชุมชนโดย #ช่อแลพระงาม


ก่อนหน้าที่จะมี "เขื่อนแม่งัดสมบรูณ์ชล" ดังที่เราเห็นในปัจจุบันบริเวณแห่งนั้นคือ "ฝายแม่งัด" และ บ้านแม่วะ คือหมู่บ้านที่จมหายอยู่ใต้ท้องน้ำ


ฝายแม่งัดปุด | ภาพถ่ายไว้ประมาณ พ.ศ.2500
ฝายแม่งัดปุด | ภาพถ่ายไว้ประมาณ พ.ศ.2500


ฝายขาด ฝายพัง ในภาษาเหนือเรียก "ฝายปุด"

จากภาพ: บริเวณที่คนยืนข้างบนนั้นคือ บริเวณสันดินของ "ฝายแม่งัด" ปัจจุบันคือ "สันเขื่อนแม่งัดสมบรูณ์ชล" ภาพถ่ายไว้ประมาณ พ.ศ.2500


กุมภาพันธ์ 2557

ช่อแลพระงามได้มีโอกาสสัมภาษณ์ แม่อารีย์ จันทร์สว่าง (ผู้ให้ข้อมูล) ลูกสาวกำนัน คำมูล จันทร์สว่าง (อดีตกำนันตำบลช่อแล) เล่าให้ฟังว่า....

"เมื่อฝายปุด ก็เป็นหน้าของพี่น้องที่ใช้น้ำแม่งัดในการดำรงชีพ โดยการนำของ ส.อ.คำมูล จันทร์สว่าง กำนันตำบลช่อแลในขณะนั้น ได้ระดมผู้นำการใช้น้ำแม่งัด (แก่ฝาย) และชาวบ้านช่อแล สันป่าสัก วังดิน (ในปัจจุบัน) บ้านใหม่ บ้านไผ่ หนองบัว รวมทั้งพี่น้องในตำบลใกล้เคียงช่วยกันซ่อมแซมฝายแม่งัด''


การซ่อมแซมฝายในเวลนั้นเป็นไปด้วยความยากลำบาก เนื่องจากเครื่องไม้เครื่องมือไม่ได้ทันสมัยเหมือนปัจจุบัน การแบ่งงานกันทำ คือวิธีที่กำนันคำมูลนำมาใช้


พี่น้องบ้านป่าไผ่ และหนองบัว จะทำหน้าที่เป็นคนตัดไม้มาให้ ส่วนพี่น้องบ้านช่อแล บ้านใหม่ สันป่าสัก และบ้านวังดิน เป็นผู้ลงน้ำเอาไม้ไปปักทำเป็นหลักชะลอน้ำ


รวมทั้งใช้ก้อนหินช่วยในการชะลอน้ำ ก้อนหินแต่ละก้อนที่จะนำลงน้ำ ต้องสานตะกร้าไม้ไผ่ เพื่อบรรจุก้อนหินแล้วโยนลงน้ำ (ในขณะนั้นไม่มีกระสอบ) เพื่อช่วยชะลอการไหลของน้ำ


สาเหตุที่ฝายปุด

แม่อารีย์ จันทร์สว่าง (ผู้ให้ข้อมูล) บอกว่า ชาวบ้านในสมัยนั้นทุกๆ ปีจะมีการเลี้ยงผีฝายด้วย "หมูู" แต่ในปีที่ฝายปุด ได้มีการเลี้ยงผีฝายด้วย "ควาย" การเลี้ยงผีฝายนี้ ได้มีการทำทุกๆ ปี สืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบัน เรียกว่า "ประเพณีเลี้ยงผีฝาย" ของชุมชน 4 ตำบลลุ่มน้ำแม่งัด



พี่น้องบ้านช่อแล บ้านใหม่ สันป่าสัก และบ้านวังดิน ลงน้ำเพื่อปักหลักไม้
พี่น้องบ้านช่อแล บ้านใหม่ สันป่าสัก และบ้านวังดิน ลงน้ำเพื่อปักหลักไม้

ภาพพี่น้องบ้านช่อแล บ้านใหม่ สันป่าสัก และบ้านวังดิน ลงน้ำเพื่อปักหลักไม้ ปัจจุบันบริเวณนี้คือ "ประตูน้ำสีแดง" ของเขื่อนแม่งัดสมบรูณ์ชล


ขวามือของภาพ

คือแนวสันเขา เป็นทางลงไปหมู่บ้าน #แม่วะ ปัจจุบันหมู่บ้านนี้ "จม" อยู่ใต้ท้องเขื่อนฯ แล้ว ช่วงก่อนจะมีการสร้างเขื่อ ทางการได้อพยพชาวบ้าน "แม่วะ" ไปสร้างหมู่บ้านแห่งใหม่นั้นก็คือ #บ้านภูดิน ตำบลแม่หอพระ อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ ในปัจจุบัน


รุ่นเราสมัยนี้

คงได้เห็นแต่ประตูน้ำสีแดง เปิด-ปิด บังคับน้ำจากปุ่ม "Enter" เพียงคนคนเดียว รุ่นเขาสมัยนั้นก็สามารถบังคับน้ำแม่งัด ด้วยคนเพียงคนเดียวได้เช่นกัน แต่คนคนนั้นต้องเปี่ยมล้นด้วยศรัทธา และปารมีที่ชาวบ้านมีให้ถึงจะบังคับน้ำแม่งัดได้ เช่นดัง ส.อ.คำมูล จันทร์สว่าง อดีตกำนันตำบลช่อแล นอกจากนั้นกำนันคำมูล จันทร์สว่าง คือผู้ที่เก็บข้อมูลระดับน้ำแม่งัด ร่วม 10 ปี ส่งให้กรมอุทกศาสตร์เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการสร้างเขื่อนแม่งัด จนวาระสุดท้ายของชีวิต ณ ฝายน้ำงัด


หากวันนั้นไม่มีเขา วันนี้อาจไม่มีเรา "ช่อแลพระงาม" ในฐานะลูกหลาน "คนช่อแล" ขอคาราวะบรรพบุรุษคนช่อแลทุกๆ ท่าน ที่ทำให้ช่อแลมีวันนี้ สิ่งอันใดที่เราทำได้เราจะทำ! และไม่หวั่นไหวใดๆ ทั้งสิ้น เช่นดังบรรพบุรุษของเราได้ทำมาแล้ว


จากเรา

#ช่อแลพระงาม


แนะนำเรื่องที่เกี่ยวข้อง


ขอขอบคุณ

ผู้ให้ข้อมูล/ภาพ: แม่อารีย์ จันทร์สว่าง


ติดตามช่อแลพระงาม

#บันทึกแห่งชุมชน #ตำนานแห่งสายน้ำงัด #เขื่อแม่งัด #แม่งัด #ฝายแม่งัด #รูปเก่าเล่าช่อแล

Comments


bottom of page